สนาม: คำสั่งของนกฟีนิกซ์
บทนำ:ศาลสหรัฐสั่งระงับเผยแพร่พิมพ์เขียว ปืนปรินต์ 3 มิติ 01 สิงหาคม พศ 2561 เวลา 22:23 น ศาลเมืองซีแอตเติลของสหรัฐมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยห้ามผู้ผลิตปืนจากเทกซัสเผยแพร่พิมพ์เขียวของอาวุธปืนที่ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเดิมบริษัทมีกำหนดจะเผยแพร่ทางออนไลน์ในวันพุธตามข้อตกลงกับรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์...
สนาม: เครือข่ายผู้บริโภครายวัน
บทนำ: ภายหลังที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในสหราชอาณาจักรได้ส่งจดหมายลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 ไปที่กระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร (Foreign and Commonwealth Office) เพื่อร้องขอต่อทางการอังกฤษให้ส่งตัว นสยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาประเทศไทย เพราะ นสยิ่งลักษณ์เป็นบุคคลที่ทางการไทยต้องการนำตัวมารับโทษจำคุก 5 ปี จากคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และได้ออกหมายจับตั้งแต่มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2560 เพื่อนำตัว นสยิ่งลักษณ์มารับโทษ ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม มีรายงานว่า นสยิ่งลักษณ์ได้เดินทางจากกรุงลอนดอนเดินทางไปยังบ้านพักของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และพี่ชาย ที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ แหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า นสยิ่งลักษณ์ไปตั้งหลักที่นครดูไบเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนี้ พยายามระมัดระวังตัว ไม่ปรากฏผ่านสื่อ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าทางการเมือง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวันที่ 31 กค ที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีระหว่างการรับประทานอาหารเที่ยง นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมวการต่างประเทศ ได้เล่าให้ฟังว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตำรวจและอัยการเป็นผู้ริเริ่ม ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ไม่มีอะไรพิเศษ กระทรวงการต่างประเทศมาทราบภายหลังแล้วด้วยซ้ำไป ส่วนเขาจะว่าอย่างไรก็เป็นเรื่องของอังกฤษ ไม่ได้เน้นย้ำอะไรเป็นพิเศษ เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้จะยื่นขอตัวน่าจะเป็นอัยการ ในฐานะผู้ประสานงานกับทางการอังกฤษ รองนายกฯ ตอบว่า เป็นความต้องการจากอังกฤษ เหมือนเป็นการทาบทาม ยังไม่เข้าสู่กระบวนการจริงๆ แต่เรื่องต้องเริ่มจากทางตำรวจ ไม่ใช่อยู่ดีๆ กระทรวงการต่างประเทศจะนึกขึ้นได้แล้วขอไป ยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ริเริ่มเรื่องนี้มา และเข้าใจว่ามีการส่งเรื่องไปแล้วตามลำดับ เพราะทำมาระยะหนึ่งแล้ว แล้วมีการขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยย้ำไปอีกครั้ง เป็นการขอความร่วมมือให้กระทรวงต่างประเทศรับรู้ เราก็แจ้งไปว่าเรารับรู้ และสนธิสัญญาที่อ้างไว้ แม้จะเก่าแล้วก็ยังสามารถใช้ได้ ถามว่าอังกฤษต้องตีความว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองใช่หรือไม่ นายวิษณุตอบว่า แน่นอน เพราะเป็นหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีที่เป็นเรื่องทางการเมืองหรือมนุษยธรรม นายกษิต ภิรมย์ อดีต รมวการต่างประเทศ เผยว่า ตามปกติการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมีกรอบดำเนินการคือข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นๆ กับประเทศไทย ซึ่งไทยมีอยู่มากกว่า 20 ฉบับกับนานาประเทศทั่วโลก และขอความร่วมมือเป็นกรณีในฐานะมิตรประเทศ โดยที่ผ่านมาระหว่างไทย-อังกฤษ ได้เคยขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันมาแล้ว เขาบอกว่า กรณี นสยิ่งลักษณ์ ต้องดูสถานะว่าขอลี้ภัยทางการเมืองหรือไม่ หรือหนีกระบวนการยุติธรรม ซึ่งถ้าเป็นกรณีลี้ภัยทางการเมืองจะไม่ส่งตัวให้ และเมื่อมองจากมุมมองของอังกฤษ น่าจะยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่า นสยิ่งลักษณ์อยู่ในสถานะใด ดังนั้นรัฐบาลต้องชี้แจงนานาประเทศ และให้ข้อมูลยืนยันว่ากรณี นสยิ่งลักษณ์ไม่ใช่เรื่องการเมืองเป็นต้นเหตุในการพิจารณาคดีอาญา นายกษิตกล่าวว่า เมื่อยื่นขอตัวไปแล้ว ประเทศที่ขอจะนำเรื่องไปพิจารณา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ กระทรวงยุติธรรม หรือมหาดไทย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะรับฟังกระทรวงการต่างประเทศของประเทศนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลควรประสานกับทุกประเทศมีข่าวว่า นสยิ่งลักษณ์เดินทางไปทั้งจีน รัสเซีย ฮ่องกง ปารีส และสิงคโปร์ด้วย สมัยผมเป็นรัฐบาล กรณีคุณทักษิณเดินทางออกจากดูไบค่อนข้างจะยาก เพราะเราชี้แจงกับต่างประเทศชัดเจน ผมได้เชิญทูตทุกประเทศมาชี้แจงกระบวนการยุติธรรม และมีคำสั่งไปทุกประเทศทั่วโลก ยืนยันไปว่าไม่มีนัยทางการเมือง ไม่มีการกลั่นแกล้งกัน อย่างไรก็ตาม จุดล้มเหลวในการดำเนินการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนของไทย อยู่ที่ความจริงจังของเจ้าหน้าที่ ที่ต้องจริงจัง จริงใจ และยึดกระบวนการยุติธรรมเป็นที่ตั้ง นายกษิต กล่าว ขณะที่ พลตอศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบตร) กล่าวว่า ไม่สามารถยืนยันแน่ชัดว่า นสยิ่งลักษณ์อยู่ในประเทศอังกฤษ แต่จากการสืบสวน สืบทราบทั้งจากตำรวจสากลและข้อมูลต่างๆ ก็เชื่อได้ว่าอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จึงทำหนังสือขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนตามกระบวนการ ส่วนจะมีการตอบกลับอย่างไร ก็เป็นเรื่องของทางกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่าดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องโดยตลอด นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สาระสำคัญที่ประเทศคู่สัญญาจะต้องพิจารณามี 2 ประเด็นคือ เป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ เพราะเป็นคดีความที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร และเป็นผลความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่ เป็นดุลยพินิจของแต่ละประเทศ แต่ที่ผ่านมา นสยิ่งลักษณ์ได้ต่อสู้ประเด็นคดีความต่างๆ ว่าเป็นเรื่องทางการเมือง ซึ่งเป็นผลพวงจากการรัฐประหารทั้งสิ้น รวมถึงการที่รัฐบาลใช้มาตรา 44 ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ซึ่งต่างประเทศมองเรื่องนี้อยู่พอสมควร จึงเชื่อว่าเป็นมุมมองทางการต่างประเทศจะนำไปพิจารณาได้ นายชูศักดิ์กล่าว นายชูศักดิ์กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่ 2 จะพิจารณาจากหลักถิ่นฐานที่อยู่ โดยกรณีนี้ต้องพิจารณาว่า นส ยิ่งลักษณ์มีถิ่นฐานหรือที่พำนักพักพิงอยู่ที่ใด แม้ นสยิ่งลักษณ์จะได้รับวีซ่าให้เดินทางเข้าสหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 10 ปี แต่ นสยิ่งลักษณ์มีถิ่นฐานที่อยู่ที่นั่นจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กันต่อไป หากไม่มี ประเทศคู่สัญญาก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ถามถึงการดำเนินการของรัฐบาลในช่วงนี้มีเหตุมาจากปัจจัยใด ประธานที่ปรึกษากฎหมายฯ ตอบว่า จากการหาข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาล สืบเนื่องจากรัฐบาลน่าจะทราบถึงถิ่นที่อยู่ที่ชัดเจนของ นสยิ่งลักษณ์แล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวกับการพบปะระหว่าง นสยิ่งลักษณ์และอดีต สสพรรคเพื่อไทยที่อังกฤษ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าเหตุใดรัฐบาลถึงดำเนินการเรื่องนี้ให้เป็นข่าวใหญ่โตในขณะนี้ ผมอยู่พรรคเพื่อไทย ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม นายชูศักดิ์เห็นว่า การที่อดีต สสพรรคเพื่อไทยเดินทางไปพบปะ นสยิ่งลักษณ์ที่อังกฤษ เป็นเรื่องปกติของคนที่มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน และไม่ได้ผิดกฎหมายตามที่ถูกมอง เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) ออกมาบอกแล้วว่าไม่ผิด ตราบใดที่บุคคลภายนอกไม่ได้มีคำสั่งหรือบงการให้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดมายังพรรค ซึ่งการไปพบของอดีต สส ก็ไม่ปรากฏว่า นสยิ่งลักษณ์มีการสั่งการหรือมติใดๆ มายังพรรคเพื่อไทยด้วย
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-18